Pretty Welcome Signs from DollieCrave.com
น.ส.พรทิพย์ สุมาลัย 5411204786 การศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 กลุ่มเรียน 102

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์การสอบกลางภาค


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15 ( 13 กุมภาพันธ์ 2557 )

การเรียนการสอน
อาจารย์เบียร์สอนเรื่องเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการเรียนดังนี้

  • การดูแลให้ความช่วยเหลือเด็ก
  • การสร้างเเรงบวก
  • รู้จักลักษณะของเด็กที่มีสัญญาณเตือน
  • จัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก
  • สังเกตุติดตามความสามารถ
  • สังเกตุการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
  • IEP
การรักษาด้วยยา

  • Ritalin มีใช้ในประเทศไทยเป็ยส่วนใหญ่
  • Dexedrine มีใช้ในต่างประเทศ
  • Cylert ใช้ในต่างประเทศ
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ

  • สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  • โรงเรียนเฉพาะความพิการ
  • สถาบันราชานุกูล
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ
สรุปความรู้ที่ได้รับจากการดู VDO เรื่อง เรียนอย่างไรใช้ศูนย์การศึกษพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ
  • การช่วยบำบัดเเละส่งเสริมเด็กพิเศษ มี การพัฒนาผ่า่นกิจกรรมเช่น การสร้างความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ๋เเละมัดเล็กหรือมีการใช้ดนตรีบำบัดเข้ามามีส่วนช่วย
  • การฝึกการออกเสียงเพื่อใช้ในการสื่อสาร เช่น พูดเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว การเรียนชื่อตนเอง
  • ทักษะในการใช้ภาษา การสื่อสารกับผู้อื่น
  • ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่น การทำอาหาร การทำขนม
  • การฝึกโครงการวิชาชีพ เช่น โครงการแม่ลูกผูกพัน 
สะท้อนการเรียนรู้
  • การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับใส่ใน blog
  • การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับใส่สมุดจด
  • การเรียนรู้ที่ใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยเป็นการเพิ่มเติ่มความรู้ให้แก่ตนเอง ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องศูนย์การศึกษาพิเศษมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14 ( 6 กุมภาพันธ์ 2557 )

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปศึกษาดูงานต่างจังหวัด
ค้นคว้าเพิ่มเติ่ม

เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Disabilities)

ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) อาทิเช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ
โดยปกติแล้ว สำหรับเด็ก ความซ้ำซ้อนเหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้
เด็กพิการซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งมักได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Losses) รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคม
เด็กพิการซ้อนแต่ละราย จะมีความแตกต่างกันทางลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ เด็กกลุ่มนี้มักมีความบกพร่องทางการได้ยินและมีปัญหาในการประมวลผลของสิ่งที่ได้ยิน รวมถึงมีข้อจำกัดในการพูด การเคลื่อนไหวของร่างกาย เด็กอาจมีความลำบากในการปฏิบัติและจดจำ อีกทั้งยังไม่สามารถนำทักษะที่มีไปปรับใช้ได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นแล้ว ความช่วยเหลือและการสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้ให้ได้รับโอกาสในการมีชีวิตที่ดี ซึ่งวิธีการดูแลและรักษาความพิการซ้อนจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย โดยพิจารณาจากสาเหตุและลักษณะพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก

เด็กพิการซ้อนมีลักษณะอย่างไร

เด็กที่มีปัญหาพิการซ้อนอาจแสดงลักษณะได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความซ้ำซ้อน (Combination) ความรุนแรงของความพิการ (Severity of Disabilities) รวมทั้งปัจจัยเรื่องอายุด้วย อย่างไรก็ตาม ลักษณะปัญหาที่พบได้บ่อย มักมีลักษณะดังนี้
  • ปัญหาด้านจิตใจ
  • มีความรู้สึกเหมือนถูกขับไล่ออกจากสังคม
  • ปลีกตัวจากสังคม
  • กลัว โกรธ และไม่พอใจเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันหรือเมื่อถูกบังคับ
  • ทำร้ายตัวเอง
  • ปัญหาด้านพฤติกรรม
  • ยังคงแสดงพฤติกรรมเหมือนเด็กแม้จะโตขึ้น
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ
  • มีความยากลำบากในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • มีทักษะในการดูแลและพึ่งตัวเองที่จำกัด
  • ปัญหาด้านร่างกาย
  • มีความผิดปกติของร่างกาย (Medical problems) อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการชัก (Seizures) การสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Loss) ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (hydrocephalus) และกระดูกสันหลังโค้ง (Scoliosis)
  • เชื่องช้าและงุ่มง่าม
  • มีความบกพร่องในการกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
  • ปัญหาทางด้านการเรียนรู้
  • มีปัญหาในการคัดลายมือหรือเขียนหนังสืออันเนื่องมาจากความบกพร่องของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine-motor deficits) และปัญหาความไม่สัมพันธ์ของมือและตา
  • มีข้อจำกัดในการพูดและสื่อสาร
  • ลืมทักษะบางอย่างเมื่อไม่ได้ใช้
  • มีปัญหาในการเข้าใจ รับมือ หรือนำทักษะที่มีมาปรับใช้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป
  • ขาดความคิดระดับสูง (High level thinking) ส่งผลให้มีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
  • มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ต่ำ
  • มีระดับจินตนาการและความเข้าใจความคิดที่เป็นนามธรรมอย่างจำกัด
  • มีผลการสอบระดับต่ำ
  • ไม่สามารถระบุตำแหน่งของแหล่งเกิดเสียงได้
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
  • มีปัญหาในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของ

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13 ( 30 มกราคม 2557 )



การเรียนการสอน


อาจารย์สอนเนื้อหา เรื่อง การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


เด็กกลุ่ม (Down’s syndrome)
  • รักษาตามอาการ
  • แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
  • ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับตนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach)
1. ด้านสุขภาพอนามัย
  • บิดามารดาพาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
  • เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
  • ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  • ทางการแพทย์ การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
  • ทางการศึกษา แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
  • ทางสังคม การฝึกทักษะการดำรงชีวิต 
  • ทางอาชีพ โดยการฝึกอาชีพ


การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก


  • การปฏิบัติของบิดา มารดา ยอมรับความจริง
  • เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้น เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
  • ให้ความรักและความอบอุ่น
  • การตรวจภายใน มะเร้งปากมดลูก เด้านม
  • การคุมกำเนิด การทำหมัน การสอนเพศศึกษา ตรวจโรคหัวใจ
  • กลุ่ม Autistic ส่งเสริมความเข้มแข้งครอบครัว การสอนเพศศึกษา ตรวจโรคหัวใจ
  • ส่งเสริมความสามารถของเด็ก มีบทบาทสำคัญที่สุด


การสื่อความหมายทดแทน (ACC) ส่งเสริมความสามารถของเด็ก ได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย และทำกิจกรรมที่หลากหลาย


  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy) ปรับพฤติกรรม ฝึกทักษะทางสังคม ให้รงเสริม
  • ตนตรีบำบัด การฝึกพูด การสื่อความหมายทดแทน (ACC)
  • การฝังเข็ม การฝึกพูด การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
  • การบำบัดด้วยสัตว์ การรักษาด้วยยา Methylphnidate (Ritlin)ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ชน
หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ

 

สะท้อนการเรียนรู้ 


1. ได้รับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมาย สาเหตุ เเละการบำบัดเด็กดาว์นซินโดรมที่ถูกต้อง

2. สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้มาเป็นความรู้ติดตัวในการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น เเละสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้อย่างถูกต้อง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12 ( 23 มกราคม 2557 )

การเรียนการสอน 

เพื่อนกลุ่มสุดท้ายได้นำเสนอเรื่อง เด็กออทิสติก ซึ่งสรุปได้ดังนี้



Autism คืออะไร

โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก

เด็กที่เป็น Autism
เด็กปกติ
การสื่อสาร

ไม่มองตา
เหมือนคนหูหนวก
เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ดูหน้าแม่
หันไปตามเสียง
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
จำคนไม่ได้
เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
จำหน้าแม่ได้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
ดมหรือเลียตุ๊กตา
ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
เปลี่ยนของเล่น
การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
สำรวจและเล่นตุ๊กตา
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ
อาการทางสังคม

เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา
เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง

ปัญหาด้านภาษา

เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก)
การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ

พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ

เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้

เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง

สะท้อนการเรียนรู้

1. ทำให้เรารู้ถึงลักษณะ ความหมาย สาเหตุของโรคที่ละเอียดของเด็กออทิสติก

2. ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องเด็กพิเศษที่เป็นออทิสติกมากยิ่งขึ้น

3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับ มาปรับใช้ในการเรียน การทำข้อสอบ เเละการสอนเด็กในอนาคตซึ่งเราอาจจะได้สอนเด็กพิเศษที่ร่วมมาในชั้นเรียนก็เป็นได้




วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11 ( 15 มกราคม 2557 )

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง




อาจารย์ได้มอบหมายงานดังนี้

นำวิจัยที่หาได้มาหา

1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5.นิยามศัพท์เฉพาะ
6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8.การดำเนินการวิจัย
9.สรุปผลการวิจัย
10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้

เขียนหรือพิมพ์ก็ได้

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10 ( 9 มกราคม 2557 )

การเรียนการสอน

อาจารย์เบียร์ได้ให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานกลุ่มของตนเองมีดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 ภาวะการเรียนบกพร่อง
  • กลุ่มที่ 2 เด็กสมองพิการ
  • กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น
  • กลุ่มที่ 4 ดาว์นซินโดรม
สรุปเนื้อหาที่ได้จากการเรียนการสอนดังนี้

เด็กภาวะการเรียนบกพร่อง

  • ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจาการทำงานที่ผิดปกติของสมองทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
  • สาเหตุเกิดจาก ความผิดปกติของการทำงานของสมอง ที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
  • ประเภทของเด็กภาวะการเรียนบกพร่อง ด้านการเขียนและสะกดคำ ด้านการอ่าน ด้านการคำนวณเเละหลายๆด้านร่วมกัน
ดาว์นซินโดรม

  • เด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมเพราะความผิดปกติขิงโครโมโซมจะมีอยู่ในเซลล์ร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่เเสดงลักษณะของคนนั้นๆออกมา
  • สาเหตุดาว์นซินโดรม โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 % โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4 และมีโครโมโซมทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1
  • ลักษณะของเด็กดาว์นซินโดรม ศีรษะเล็ก หน้าเเบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น เเขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือนิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น
เด็กสมาธิสั้น

  • เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรมเกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมองโดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กับระบบสั่งงานอื่นๆ
  • สาเหตุเด็กสมาธิสั้น สารเคมีในสมอง พันธุกรรมที่มีต่อสมอง ภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม 
  • ลักษณะอาการเด็กสมาธิสั้น ไม่มีสมาธิ อาการอยู่ไม่สุข ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้
เด็กพิการทางสมอง

  • ผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมองความพิการนี้จะคงที่เเละไม่ลุกลามต่อไปซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่องส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวเเละการทรงตัวที่ผิดปกติ
  • สาเหตุเด็กพิการทางสมอง ระยะที่เด็กอยู่ในครรถ์มารดาหรือระยะก่อนคลอด ระยะระหว่างคลอด ระยะหลังคลอด 
  • อาการ ภาวะปัญญาอ่อน ด้านการรับรู้ ด้านอารมณ์สังคม โรคลมชัก ด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน การสื่อความหมาย ด้านกระดูก ด้านฟันเเละร่องปาก
สะท้อนการเรียนรู้


  • ได้รับความรู้เเละเข้าใจในเรื่องอาการ สาเหตุของการเกิดฌโรคต่างๆในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เป็นการสรุปเนื้อหาการเรียนการสอนไปในตัว สามารถทบทวนความรู้ก่อนที่จะสอบได้เป็นอย่างดี
  • ได้รับความสนุกสนานในการมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของเพื่อนๆในแต่ละกลุ่ม
ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน