Pretty Welcome Signs from DollieCrave.com
น.ส.พรทิพย์ สุมาลัย 5411204786 การศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 กลุ่มเรียน 102

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14 ( 6 กุมภาพันธ์ 2557 )

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปศึกษาดูงานต่างจังหวัด
ค้นคว้าเพิ่มเติ่ม

เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Disabilities)

ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) อาทิเช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ
โดยปกติแล้ว สำหรับเด็ก ความซ้ำซ้อนเหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้
เด็กพิการซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งมักได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Losses) รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคม
เด็กพิการซ้อนแต่ละราย จะมีความแตกต่างกันทางลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ เด็กกลุ่มนี้มักมีความบกพร่องทางการได้ยินและมีปัญหาในการประมวลผลของสิ่งที่ได้ยิน รวมถึงมีข้อจำกัดในการพูด การเคลื่อนไหวของร่างกาย เด็กอาจมีความลำบากในการปฏิบัติและจดจำ อีกทั้งยังไม่สามารถนำทักษะที่มีไปปรับใช้ได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นแล้ว ความช่วยเหลือและการสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้ให้ได้รับโอกาสในการมีชีวิตที่ดี ซึ่งวิธีการดูแลและรักษาความพิการซ้อนจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย โดยพิจารณาจากสาเหตุและลักษณะพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก

เด็กพิการซ้อนมีลักษณะอย่างไร

เด็กที่มีปัญหาพิการซ้อนอาจแสดงลักษณะได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความซ้ำซ้อน (Combination) ความรุนแรงของความพิการ (Severity of Disabilities) รวมทั้งปัจจัยเรื่องอายุด้วย อย่างไรก็ตาม ลักษณะปัญหาที่พบได้บ่อย มักมีลักษณะดังนี้
  • ปัญหาด้านจิตใจ
  • มีความรู้สึกเหมือนถูกขับไล่ออกจากสังคม
  • ปลีกตัวจากสังคม
  • กลัว โกรธ และไม่พอใจเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันหรือเมื่อถูกบังคับ
  • ทำร้ายตัวเอง
  • ปัญหาด้านพฤติกรรม
  • ยังคงแสดงพฤติกรรมเหมือนเด็กแม้จะโตขึ้น
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ
  • มีความยากลำบากในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • มีทักษะในการดูแลและพึ่งตัวเองที่จำกัด
  • ปัญหาด้านร่างกาย
  • มีความผิดปกติของร่างกาย (Medical problems) อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการชัก (Seizures) การสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Loss) ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (hydrocephalus) และกระดูกสันหลังโค้ง (Scoliosis)
  • เชื่องช้าและงุ่มง่าม
  • มีความบกพร่องในการกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
  • ปัญหาทางด้านการเรียนรู้
  • มีปัญหาในการคัดลายมือหรือเขียนหนังสืออันเนื่องมาจากความบกพร่องของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine-motor deficits) และปัญหาความไม่สัมพันธ์ของมือและตา
  • มีข้อจำกัดในการพูดและสื่อสาร
  • ลืมทักษะบางอย่างเมื่อไม่ได้ใช้
  • มีปัญหาในการเข้าใจ รับมือ หรือนำทักษะที่มีมาปรับใช้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป
  • ขาดความคิดระดับสูง (High level thinking) ส่งผลให้มีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
  • มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ต่ำ
  • มีระดับจินตนาการและความเข้าใจความคิดที่เป็นนามธรรมอย่างจำกัด
  • มีผลการสอบระดับต่ำ
  • ไม่สามารถระบุตำแหน่งของแหล่งเกิดเสียงได้
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
  • มีปัญหาในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น